วันอาทิตย์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2559




ชื่อ ด.ช. สหัสศวรรษ คงกะบิน 
ศึกษาอยู่โรงเรียนตราดสรรเสริญวิทยาคม ชั้น ม.3/4
ชอบกิน ผัดกะเพาะ 

ชอบสีฟ้า

กิจกรรมในงานปีใหม่ครั้งนี้ผมสนุกมากมีการร้องเพลง เต้น ของ ม.ต้น และ ม.ปลาย มีของขวัญแจกมากมายเลยข้าวกลางวันก็ได้กินฟรีเพราะเพื่อนเลี้ยงและยังไม่ต้องเรียนอีกด้วยทำให้ว่างทั้งวันแบบ  ผมประทับใจมาและอยากให้มีงานแบบนี้ต่อไปในทุกๆปี  เพื่อจะได้เป็นการผ่อนคลายการเรียน

 "อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์" แต่เดิมดอยอินทนนท์มีชื่อว่า "ดอยหลวง" หรือ "ดอยอ่างกา"ดอยหลวง หมายถึงภูเขาที่มีขนาดใหญ่ ส่วนที่เรียกว่าดอยอ่างกานั้น มีเรื่องเล่าว่า ห่างจากดอยอินทนนท์ไปทางทิศตะวันตก 300 เมตร มีหนองน้ำอยู่แห่งหนึ่งลักษณะเหมือนอ่างน้ำ แต่ก่อนนี้มีฝูงกาไปเล่นน้ำกันมากมาย จึงเรียกว่า "อ่างกา" ต่อมาจึงรวมเรียกว่า "ดอยอ่างกา" 

         อย่างไรก็ตาม ดอยอินทนนท์นี้เป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาหิมาลัยซึ่งพาดผ่านจากประเทศเนปาล ภูฐาน พม่า และมาสิ้นสุดที่นี่ สิ่งที่น่าสนใจของดอยนี้ไม่เพียงแต่เป็นยอดดอยที่สูงที่สุดในประเทศ ด้วยความสูง 2,565 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลางเท่านั้น แต่สภาพภูมิประเทศและสภาพป่าที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นป่าดงดิบ ป่าสน ป่าเบญจพรรณ และอากาศที่หนาวเย็นตลอดทั้งปี โดยเฉพาะในฤดูหนาวจะมีหมอกปกคลุมเกือบทั้งวัน และบางครั้งน้ำค้างยังกลายเป็นน้ำค้างแข็ง สิ่งต่างๆ เหล่านี้เป็นเสน่ห์ดึงดูดให้มีผู้มาเยือนที่นี่อย่างไม่ขาดสาย 


ทีมชาติไทย ฟุตบอลทีมชาติไทย เป็นตัวแทนของประเทศไทยในการแข่งขันฟุตบอลระหว่างประเทศ และอยู่ภายใต้การบริหารของสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยทีมมีประวัติของความสำเร็จในการแข่งขันในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือชนะเลิศอาเซียนฟุตบอลแชมเปียนชิพ 4 สมัย และชนะเลิศซีเกมส์ 9 สมัย โดยทีมชาติไทยยังสามารถคว้าอันดับ 3 ในเอเชียนคัพ 1972 และเข้าร่วมการแข่งขันในโอลิมปิกฤดูร้อน 2 ครั้ง และในเอเชียนเกมส์ 4 ครั้ง โดยอันดับโลกฟีฟ่าที่ทีมชาติไทยทำอันดับได้ดีที่สุด คือ อันดับที่ 42 ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2541 ปัจจุบันทีมชาติไทยอยู่อันดับที่ 133 ของโลก จากการจัดอันดับโ.ดยฟีฟ่า (ธันวาคม พ.ศ. 2558)


วันหยุด หมายถึง วันที่นายจ้างกำหนดให้ลูกจ้างหยุดทำงาน ไม่ต้องมาทำงานตามปกติ เช่น วันหยุดประจำสัปดาห์ วันหยุดตามประเพณี เป็นต้น วันหยุดประจำสัปดาห์ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.๒๕๔๑ มาตรา ๒๘ กำหนดว่า " ให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างมีวันหยุดประจำสัปดาห์สัปดาห์หนึ่งไม่น้อยกว่าหนึ่งวันโดยวันหยุดประจำสัปดาห์ต้องมีระยะห่างกันไม่เกินหกวันนายจ้างและลูกจ้างอาจตกลงกันล่วงหน้ากำหนดให้มีวันหยุดประจำสัปดาห์วันใดก็ได้ ในกรณีที่ลูกจ้างทำงานโรงแรมงานขนส่งงานในป่างานในที่ทุรกันดารหรืองานอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง นายจ้างและลูกจ้างอาจตกลงกันล่วงหน้าสะสมวันหยุดประจำสัปดาห์และเลื่อนไปหยุดเมื่อใดก็ได้แต่ต้องอยู่ในระยะเวลาสี่สัปดาห์ติดต่อกัน" ตามข้อกฎหมาย วันหยุประจำสัปดาห์ มี ๒ ประเภท คือ วันหยุดประจำสัปดาห์ที่สามารถกำหนดได้แน่นอน เช่น ทำงานจันทร์ถึงศุกร์ หยุดวันเสาร์ - อาทิตย์ เป็นต้น ส่วนใหญ่จะเป็นงานทั่ว ๆ ไป ไม่ใช่ธุรกิจเฉพาะ ซึ่งสามารถกำหนดวันทำงานปกติ วันหยุดและเวลาทำงานปกติได้ กรณีนี้วันหยุดประจำสัปดาห์ต้องมีระยะห่างกันไม่เกินหกวัน วันหยุดประจำสัปดาห์ที่ไม่สามารถกำหนดวันที่แน่นอนได้ เช่น งานบริการ งานที่ต้องเข้าเป็นกะ หรืองานที่ต้องเดินทางเป็นประจำ ลักษณะการหยุดจึงจำเป็นต้องเปลี่ยนไปตามลักษณะของการทำงานแต่ละประเภท เช่น อาจกำหนดว่า ทำงานห้าวัน หยุดสองวัน หรือทำงานหกวันหยุดหนึ่งวันเป็นต้น โดยงานในลักษณะดังกล่าวนี้ ยังสามารถเลื่อนหรือสะสมวันหยุดประจำสัปดาห์ ไปหยุดรวมกันทีเดียวได้ แต่ต้องไม่เกินสี่สัปดาห์ติดต่อกัน เช่น งานขายที่ต้องเดินทางไปต่างจังหวัด นายจ้างลูจ้างอาจตกลงกัน ให้ทำงานต่อเนื่องไปเลยยี่สิบวัน เมื่อกลับมาให้หยุดต่อเนื่อง สิบวัน อย่างนี้เป็นต้น


วันลอยกระมง ประเพณีลอยกระทงเป็นประเพณีโบราณของอินเดียที่ประเทศไทยรับเข้ามาปฏิบัติ แต่ไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจนว่า ทำกันมาตั้งแต่เมื่อไร เท่าที่ปรากฏกล่าวได้ว่ามีมาตั้งสมัยสุโขทัยเป็นราชธานี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสันนิษฐานว่า เดิมทีเดียวเห็นจะเป็นพิธีของพราหมณ์กระทำเพื่อบูชาพระผู้เป็นเจ้าทั้งสาม คือ พระอิศวร พระานารายณ์ และพระพรหม ต่อมาได้ถือตามแนวทางพระพุทธศาสนามีการชักโคมเพื่อบูชาพระบรมสารีริกธาตุพระจุฬามณีในชั้นดาวดึงส์ และลอยโคมเพื่อบูชารอยพระพุทธบาท ซึ่งประดิษฐาน ณ หาดทรายแม่น้ำนัมมทา (แม่น้ำนัมมทา เป็นแม่น้ำที่คู่ขนานกับทิวเขาวินธัย ไหลลงภาคตะวันตกของอินเดียแบ่งเขตอินเดียออกเป็นภาคเหนือและภาคใต้) ตำนานที่หาหลักฐานยืนยันมิได้ กล่าวไว้ว่าในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหง มีนางนพมาศหรือท้าวศรีจุฬาลักษณ์ เป็นผู้ประดิษฐ์กระทงขึ้นครั้งแรก โดยแต่เดิมเรียกว่าพิธีจองเปรียง ที่ลอยเทียนประทีป และนางนพมาศได้นำดอกโคทม ซึ่งเป็นดอกบัวที่บานเฉพาะวันเพ็ญเดือนสิบสองมาใช้ใส่เทียนประทีป ดังปรากฏในตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์กล่าวถึงพระดำรัสของพระร่วงว่า "แต่นี้สืบไปเบื้องหน้า โดยลำดับกษัตริย์ในสยามประเทศ ถึงกาลกำหนดนักขัตฤกษ์ วันเพ็ญเดือน 12 ให้ทำโคมลอยเป็นรูปอดกบัว อุทิศสักการบูชาพระพุทธบาทนัมมทานทีตราบเท่ากัลปาวสาน แต่ปัจจุบันมีหลักฐานว่าไม่น่าจะเก่ากว่าสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น โดยอ้างอิงหลักฐานจากภาพจิตรกรรมการสร้างกระทงแบบต่างๆ ในสมัยรัชกาลที่1 จากนั้นในสมัยรัชกาลที่2 ได้เปลี่ยนแปลงจากการทำจากดอกบัวเป็นต้นกล้วยเพราะดอกบัวดังกล่าวหายากและมีน้อยจึงใช้ต้นกล้วยทำแทนแล้วดูไม่สวยจึงใช้ใบตองมาพับแต่งจนสวยในที่สุดจนสืบทอดมาจนปัจจุบันนี้


กีฬาสีโรงเรียนตราดสรรเสริญวิทยาคม
โดยมีการเปิดงานโดย 
ผอ. ประวิท นิยมนา